ปฏิทินวันพระ

ปฏิทินวันพระ

ปฏิทินวันพระ คือปฏิทินที่ ไม่ได้มีแค่ตัวเลขวันที่เพียงอย่างเดียว แต่จะยังมีรายละเอียดอย่างอื่นที่บ่งบอกถึงวันขึ้น วันแรมจึงทำให้รู้ถึงวันพระในแต่ละเดือน
ไม่เพียงแค่รู้ถึงวันพระแต่ยังสามารถรู้ได้ว่าวันไหนพระจันทร์มืด วันไหนพระจันทร์เต็มดวงอีกด้วย โดยปกติแล้ววันพระจะมีขึ้นในวันที่มี ขึ้น 8 ค่ำ ขึ้น 15 ค่ำ แรม 8 ค่ำ แรม 15 ค่ำ ของทุกเดือน แต่ในบางเดือนจะไม่มี แรม 15 ค่ำ วันพระของเดือนนั้นจึงต้องเปลี่ยนเป็นวันแรม 14 ค่ำแทน ส่วนเดือนที่ระบุในวันขึ้นแรมนั้น ก็จะไม่ตรงกับเดือนสากลอีกด้วย เพราะเดือนตรงนี้จะนับจาก ปฏิทินจันทรคติไทย คือการหมุนครบรอบของพระจันทร์ โดยจะมีแต่ละเดือนไม่เท่ากัน บางเดือน 29 วัน บางเดือน 30 วัน และด้วยเหตุที่มีวันน้อยในแต่ละเดือน จึงทำให้บางปีมีเดือนซ้ำ เช่นมีเดือน 8 สองครั้ง และนอกจากนี้ยังมีวันพระใหญ่ ที่จะมีขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำของในบางเดือนอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 คือวันมาฆบูชา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 คือวันวิสาขบูชา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันอาสาฬหบูชา และวันถัดมาจากวันวันอาสาฬหบูชา จะเป็นวันเข้าพรรษา ของทุกปี และวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 คือวันออกพรรษา และด้วยเหตุผลที่วันขึ้นแรม ไม่ตรงกับปฏิทินสากล จึงทำให้ในไม่สามารถกำหนดวันตายตัวได้ในปฏิทินสากลและวันพระก็จะไม่ตรงกันในปฏิทินสากลของทุกปี วันพระเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับชีวิตคนไทยมาช้านาน วันพระจึงมีความสำคัญมากกับคนไทยหลายๆ คนที่เป็นชาวพุทธ เราจึงต้องมีปฏิทินวันพระไว้เพื่อที่จะสามารถทราบได้ว่าวันไหนเป็นวันพระ

ปฏิทินวันพระ

ปฏิทินไทย

ปฏิทิน คือสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างหนึ่งที่ทำให้เราสามารถรู้วันเดือนปีได้ โดยไม่ต้องจดจำ ปฏิทินไทยมีมายาวนานเรียกได้ว่ามีมายาวนานหลายร้อยปีเลยทีเดียว
โดยเริ่มจากสมัยสุโขทัยโดยใช้ระบบศักราช ที่เรียกว่ามหาศักราช ม.ศ.1171 เทียบปี พ.ศ. เท่ากับปี พ.ศ.1792 โดยสมัยนั้นใช้เป็น ปฏิทินจันทรคติ และมีวันขึ้น 1 ค่ำเดือนอ้ายเป็นวันขึ้นปีใหม่ จนถึงช่วงอยุธยาเสียกรุงครั้งที่ 1 ได้มีการเปลี่ยนมาใช้ระบบศักราช จากมหาศักราชเป็นจุลศักราช จ.ศ.931 เทียบปี พ.ศ. เท่ากับปี พ.ศ.2112 โดยยังใช้เป็นปฏิทินจันทรคติอยู่ แต่จะเปลี่ยนมาใช้วันเถลิงศกเป็นวันขึ้นปีใหม่ จนถึงช่วงรัชกาลที่ 5 ได้ทำการเปลี่ยนจากปฏิทินจันทรคติเป็นปฏิทินสุริยคติที่ใช้กันต่อมาจนถึงปัจจุบัน และได้มีการเปลี่ยนมาใช้ระบบศักราช จากจุลศักราชเป็นรัตนโกสินทรศก ร.ศ.107 เทียบปี พ.ศ. เท่ากับปี พ.ศ.2443 เปลี่ยนมาใช้วันที่ 1 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ และในช่วงรัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนมาใช้พุทธศักราชเป็นระบบศักราชที่ใช้ในราชการ ในปี พ.ศ.2456 ต่อมาในช่วงรัชกาลที่ 8 ในปี พ.ศ.2484 ได้เปลี่ยนมาใช้วันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่จนถึงปัจจุบัน

ด้วยเหตุนี้ จึงมีการรับพิมพ์ปฏิทินวันพระ ตามโรงพิมพ์ต่างๆ โดยขั้นตอนการพิมพ์ปฏิทินวันพระนั้น ก็จะไม่ต่างจากการพิมพ์งานสิ่งพิมพ์ปกติทั่วไป แตกต่างกันที่ การจะปฏิทินวันพระนั้นแตกต่างกันตอนที่เราจะตัดเข้าเล่ม และปฏิทินก็มีหลากหลายประเภท ถ้าเราไม่ออกแบบขนาดต่างๆ ให้ดี อาจจะทำให้งานเสียทั้งหมดได้ แล้วหลังจากที่พิมพ์เสร็จแล้ว เราก็จะนำใบพิมพ์มาตัดและเข้าเล่มต่อไป

ตารางปฏิทิน มีไว้ให้เราสามารถดูวันที่ได้ง่ายขึ้น โดยส่วนมากตารางปฏิทินจะเริ่มจากวันอาทิตย์ทางด้านซ้ายและตามด้วยจันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ ตามลำดับ
ซึ่งจะช่วยให้เรารู้ว่า ในวันที่เท่านี้ตรงกับวันอะไรบ้าง
ถ้าคุณอยากทราบว่าปฏิทินแขวนซื้อที่ไหน ปฏิทินตั้งโต๊ะซื้ที่ไหน ปฏิทินจันทรคติคืออะไร ปฏิทินจีนมีลักษณะอย่างไร ปฏิทินวันพระคืออะไร ปฏิทินเมือง 2565 ปฏิทินวันหยุด 2565
ปฏิทินวันนี้ ปฏิทิน 2565 เราให้คำตอบคุณได้ทั้งหมดที่คุณต้องการที่จะทราบ เพราะเราคือโรงพิมพ์ปฏิทินที่มีประสบการณ์และพร้อมที่จะพิมพ์ปฏิทินทุกรูปแบบให้กับคุณ

แผนที่ โรงพิมพ์ เอบิซ อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด (Abiz Inter)

ที่อยู่ : 80/6 หมู่ 2 ซอย พันท้ายนรสิงห์ ถนน พระราม 2

ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร

จังหวัด สมุทรสาคร 74000

เวลาทำการ : จันทร์-เสาร์

เวลา : 8.30 – 17.30 น.